Last updated: 15 ก.ย. 2564 | 1820 จำนวนผู้เข้าชม |
ป้ายบรรณสิทธิ์
ป้ายบรรณสิทธิ์ เป็นป้ายแสดงความเป็นเจ้าของหนังสือ ระบุว่าผู้ใดหรือห้องสมุดใดเป็นเจ้าของ ติดอยู่ที่ด้านหลังของหน้าปก หรือใบรองปก มีคุณค่าทั้งในด้านศิลปะ และวงศ์วานวิทยา เนื่องจากเป็นหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของ บางตระกูลในยุโรปใช้ป้ายบรรณสิทธิ์ต่อเนื่องกันหลายชั่วอายุคน กลุ่มผู้เริ่มใช้ป้ายบรรณสิทธิ์ในประเทศไทย ได้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่เคยไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสนพระทัยรวบรวมหนังสือ
ป้ายบรรณสิทธิ์ในหนังสือส่วนพระองค์ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 3 ลักษณะป้าย
1. ป้ายบรรณสิทธิประชาธิปก หนังสือส่วนพระองค์ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าฟ้าประชาธิปก พระนามภาษาอังกฤษ H.R.H. Prince Prajadhipok
ที่มาของภาพ : 120 ปี ผ่านฟ้าประชาธิปก. 2556. น.218-219
2. ป้ายบรรณสิทธิ ปปร. หนังสือส่วนพระองค์ใน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตราพระปรามาภิไธย ปปร พร้อมภาษาบาลี โยคเว ชายเตภูมิ อโยคา ภูริสขโย แปลว่า ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบ เสื่อมสิ้นไปเพราะไม่ประกอบ
มาของภาพป้ายบรรณสิทธิ์ : 120 ปี ผ่านฟ้าประชาธิปก. 2556. น.218-219
3. ป้ายบรรณสิทธิ ปศ. หนังสือส่วนพระองค์ครั้งสละราชสมบัติแล้ว อักษร ปศ พร้อมบทกวีภาษาอังกฤษเรื่อง A Nook and a Book ของ William Freeland มีถ้อยความว่า
“Give me a nook and a book,
And let the proud world spin round;
Let it scramble by hook or by crook
For wealth or a name with a sound.
Give me a book and a nook
Far away from the glitter and strife;
Give me a staff and a crook,
The calm and the sweetness of life;
Vain world, let me reign in my nook,
King of this kingdom, my book,
A region by fashion forsook;
Pass on’ ye lean gamblers for glory,
Nor mar the sweet tune of my story!”
“ฉันขอเพียงมุมหนึ่งกับหนังสือเล่มหนึ่ง,
และปล่อยให้โลกแห่งความโอหังหมุนไป;
เพื่อไขว่คว้าเกาะเกี่ยวด้วยเล่ห์กล
เพื่อให้ได้มาซึ่งชื่อเสียง
ฉันขอเพียงหนังสอเล่มหนึ่งกับมุมหนึ่ง
ห่างไกลจากแสงแพรวพราวและความขัดแย้งอลหม่าน;
ขอไม้เท้ากับไม้ปลายขออย่างละด้าม
อีกความสงบและความหอมหวานของชีวิต;
โอ้ โลกที่ช่างโอ้อวดเอ๋ย จงปล่อยให้ฉันได้ครองมุมของฉัน,
ราชาแห่งอาณาจักรนี้, หนังสือของฉัน,
อาณาบริเวณที่สมัยนิยมได้ทอดทิ้งไป;
จงผ่านฉันไป, บรรดาท่านนักเสี่ยงโชคเพียงเพื่อความรุ่งโรจน์เอ๋ย,
ขออย่าได้มาขัดจังหวะทำนองอันไพเราะแห่งเรื่องราวของฉันเลย!”
ส่วนหนึ่งของหนังสือทรงอ่าน
หนังสือเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ การเมือง
- A history of political idea 1930 ว่าด้วยรัฐวิวัฒนาการความ และการเมืองการปกครองยุโรป ตั้งแต่สมัยกรีก โรมัน ยุคกลาง การปฏิวัติอำนาจ ตลอดจนสิทธิของกษัตริย์ แนวคิดทางการเมืองของนักปรัชญาต่างๆ
- History of the Russian Revolution. Leon Trotsky. London. Gollancz, Ltd. 1934. (1295 หน้า)
- Government Owned Corporations โดย Harold Archer Vandorn. NewYork. Alfred. A. Knopf. 1926. (311 หน้า) อเมริกาคือประเทศใหม่ ที่มีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ระบบการเมืองพัฒนาแบบก้าวกระโดดภายหลังสงครามกลางเมืองที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องเลิกทาส และการจัดการทรัพยากร หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยการบริหารจัดการประเทศของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในทุกๆ ด้าน
หนังสือเกี่ยวกับการทหาร
- The French Field Artillery 1912 เป็นคู่มือและรายละเอียดเกี่ยวกับปืนใหญ่ขนาด 75 มิลลิเมตร (The 75 mm. equipment) ซึ่งเป็นยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนของโรงเรียนวูลลิช (The Royal Military Academy, Woolwich) สันนิษฐานว่าเป็นหนังสือเรียนของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าประชาธิปกฯ เนื่องจากหน้าปกปรากฏ กระดาษที่มีพระนาม (H.R.H.PRINCE PRAJATIPOK)
- The Interest of America in Sea Power, Present and Future โดย A.T. Maham. London : Sampsonlow Co. Ltd. ปี 1989 (314 หน้า) เนื้อหาว่าด้วยความเข้มแข็ง และการขยายอำนาจของกองทัพเรืออเมริกา ในบริเวณน่านน้ำต่างๆทั่วโลก ได้แก่ หมู่เกาะฮาวาย มหาสมุทรแอตแลนติก แปซิฟิก ตลอดจนทวีปอเมริกาใต้
- Military Electric Lighting Vol.1 โดย MMahan, A. T. London :Harrison & son. (110 หน้า) ตำราวิศวกรรมไฟฟ้าทางการทหาร
ตำรายุทธวิธีโรงเรียนเสนาธิการฝรั่งเศส
ที่มาของภาพ : 120 ปี ผ่านฟ้าประชาธิปก. 2556. น.24
ตำราวิชาทหารม้า
ที่มาของภาพ : 120 ปี ผ่านฟ้าประชาธิปก. 2556. น.16
หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
- Siamese State Ceremonies, 1931. โดย Wales, Quarich. ปี 1931.
- Their History and Function. Hertford: Stephen Austin & Sons, Ltd. (326 หน้า) หนังสือประวัติศาสตร์ ประเพณีในราชสำนักสยาม ทั้งที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์โดยตรงซึ่งมีพราหมณ์ราชสำนักเป็นผู้ประกอบพิธี พระราชพิธีสถาปนาต่างๆ ประเพณีภายใต้การปกครองของกษัตริย์ เกษตรกรรม เรื่องอื่นๆ เช่น ช้างเผือก ตรียัมปวาย โล้ชิงช้า
- A History of Siam โดย Wood, W.A.R. London : T fisher Unsin,Ltd. ปี 1926. (280 หน้า)หนังสือประวัติศาสตร์ไทย ภาคภาษาอังกฤษ เล่าความเป็นมาของสยามตั้งแต่ชนเผ่าไท ที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีน พัฒนาเป็นรัฐ ที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดีย จีน อาณาจักรสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- A History of the American Nation โดย Andrew, Mclaughlin. ปี 1919 (586 หน้า)ประวัติศาสตร์อเมริกาโดยละเอียด ตั้งแต่การค้นพบแผ่นดิน เข้าสู่ยุคที่อเมริกาเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และฝรั่งเศสตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 17 – 18 เรื่อยมาจนถึงการปฏิวัติจากอาณานิคมเป็นดินแดนเสรี รวมถึงพัฒนาการของรัฐธรรมนูญ อันมีผลในการพัฒนาประเทศในสู่ประวัติศาสตร์ยุคใหม่
- A Modern History of Europe โดย Fyffe, C.A. London : Cassell, Ltd. ปี 1985 (1112 หน้า) หนังสือประวัติศาสตร์ยุโรปยุใหม่ เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของประเทศเยอรมัน และฝรั่งเศส ที่มาของสนธิสัญญาฉบับต่างๆ สงคราม และเรื่องอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจในยุโรปขณะนั้น เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย สเปน อิตาลี โดยแผ่นรองปกหน้าหนึ่งปั๊มว่า Mahavajiravudh
- China the Facts, 1927. โดย Lieut-Colonel. London : Ernest Benn, Ltd. ปี 1927 (256 หน้า) ผู้เขียน (Etherton) ดำรงตำแหน่ง Consul-General and Political Resident ในแถบจีนและเตอกิสถาน รวมทั้งดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสบทบในศาลสูงสุดของจีน ทำให้มีประสบการณ์จากการทำงาน ทั้งด้านรัฐศาสตร์ และเศรษฐกิจของจีนในช่วงปี 1920 อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในอนาคต
- Matriculation Magnetism and Electricity โดย R. H. JUDE,M.A.,D.Sc. and Johnsatterly ,B.A.B.Sc, London : W.B.Clive University cutorial Press .Co., ปี 1910 (419 หน้า) เป็นตำราวิชาแมททริกซ์ อำนาจแม่เหล็ก และกระแสไฟฟ้า
หนังสือเกี่ยวกับการถ่ายภาพ และภาพยนตร์
- Educational cinematography พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่โปรดภาพยนตร์อย่างมาก เพราะทรงเป็นทั้งนักชมภาพยนตร์และนักถ่ายทำภาพยนตร์สมัครเล่นมาตั้งแต่ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพระองค์เสด็จฯไปที่แห่งใดทั้งในและนอกพระราชอาณาจักรมักทรงถือกล้องถ่ายภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรติดพระหัตถ์ด้วยเสมอ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสมาคมภาพยนตร์สมัครเล่นแห่งสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ในปี พ.ศ. 2473 มีสำนักงานตั้งอยู่ในพระราชวังสวนจิตรลดา เพื่อส่งเสริมและเป็นศูนย์รวมของนักถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นในสยาม พระองค์โปรดฯพระราชทานภาพยนตร์ฝีพระหัตถ์ และภาพยนตร์เผยแพร่ในส่วนพระองค์ซึ่งเรียกว่า "ภาพยนตร์อัมพร" มาฉายให้สมาชิกชมอยู่เสมอ รวมทั้งยังเสด็จฯมาทอดพระเนตรภาพยนตร์เป็นประจำอีกด้วย
- The Wellington photographic handbook โดย : Jude & Satterly by W. B. Clive University Tutorial Press Ltd ปี 1924 (138 หน้า) หนังสือคู่มือการถ่าย และล้างอัดภาพ ตีพิมพ์โดย บริษัทเวลลิงตัน แอนด์ วอร์ด ซึ่งก่อตั้งโดย นักวิทยาศาสตร์ และช่างภาพชาวอังกฤษชื่อ จอห์น เวลลิงตัน ด้วยความร่วมมือ จอร์จ อิสต์แมน แห่งบริษัทโกดักจากอเมริกา คู่มือดังกล่าวจัดเป็นคู่มือเกี่ยวกับการถ่ายภาพที่สำคัญที่สุดเล่มหนึ่งในประวัติศาสตร์การถ่ายภาพ
หนังสือเกี่ยวกับการจัดสวน
- All about gardeningพระราชนิยมในการปลูกต้นไม้ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ปรากฏให้เห็นได้จากที่พำนักต่างๆของพระองค์ ทั้งวังศุโขทัย ที่ร่มรื่นด้วยแมกไม้น้อยใหญ่นานาพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นต้นยางนา ตะเคียนทอง กะเบา ตะโก เป็นต้น วังไกลกังวล ที่พระองค์โปรดให้เรียกว่าสวนไกลกังวล ก็คำนึงถึงการลงต้นไม้อย่างมากเพื่อให้เป็นสวนตามนามประทาน แม้นยามที่พระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว ณ พระตำหนักเวนคอร์ต ประเทศอังกฤษ ทรงใช้ชีวิตอย่างสามัญชน ทรงงานในสวน ปลูกต้นไม้ ไม้ดอก ทรงมีเรือนเพาะชำต้นคาร์เนชั่น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงตัดดอกไม้ใส่แจกันทุกวัน
หนังสือเกี่ยวกับการศึกษา
- Training for Librarianship Library Work As a Career โดย Friedel, J.H, Philadelphia:J.Blippincott Company ปี 1921 (224 หน้า) ตำราพิมพ์เพื่อรองรับการขยายตัวของอาชีพบรรณารักษ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตามเมืองใหญ่มีความต้องการบรรณารักษ์กว่า 200 ผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดบรรณารักษ์จึงได้จัดพิมพ์ตำรา / คู่มือสำหรับการฝึกหัดบรรณารักษ์มืออาชีพ เพื่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกันที่มีประสิทธิภาพ
- An English-Siam Pronouncing Handbook โดย Mc Farland, B. Bangkok : American Pressbyterian Mission Press. ปี 1912 (160 หน้า) ตำราสำหรับการออกเสียงภาษาอังกฤษ และภาษาไทย แต่งโดยพระอาจวิทยาคม หรือ จอร์จ บี. แมคฟาร์แลนด์ ผู้มีบทบาทสำคัญทางด้านการศึกษาสมัยใหม่ของไทย จนได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งแพทย์แผนปัจจุบัน และอิฐก้อนแรกของโรงเรียนแพทย์ นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้คิดค้นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย ตำราแพทย์ ตลอดจนพจนานุกรมศัพท์ และประทานุกรมไทย-อังกฤษ
ตำราภาษาอังกฤษ
ที่มาของภาพ : 120 ปี ผ่านฟ้าประชาธิปก. 2556. น.206
หนังสือเกี่ยวกับศาสนา
- China and Religion 1905 PARKER E.H. London : John Murray ปี 1905 หนังสือว่าด้วยเรื่องการนับถือศาสนาในประเทศจีน โดยกล่าวถึงความเชื่อดั้งเดิม เต๋า ขงจื๊อ พุทธ พิธีกรรมการบูชาด้วยไฟ มานิกี (manicheism) Nestorianism อิสลาม ยิว คริสต์ศาสนา (โรมันคาธอลิค โปรแตสแตนท์ ออเธอด๊อกซ์ และชินโต
- A Buddhist Catechism an Outline of the Doctrine of the Buddha Gotama. โดย Subhadra Bhikshu. George Redway : London ปี 1980 (92 หน้า) เนื้อหาเป็นปุจฉา-วิสัชนา แห่งพระโคตมพุทธเจ้า 171 ประการ หนทางสู่การนิพพาน
- Buddhist Records of the Western World Vol.1 โดย Beal Samuel. Kegan Paul,Trench, Trubrer.Co.Ltd ( 369 หน้า) เนื้อหาเป็นเรื่องไซอิ๋วฉบับภาษาอังกฤษ การเดินทางไปแสวงบุญ และอัญเชิญพระไตรปิฎกจากชมพูของพระถังซำจั๋ง เป็นวรรณกรรมที่เล่าถึงที่มาของศาสนาพุทธในประเทศจีน
หนังสือเกี่ยวกับสารคดี/ชีวประวัติ
- Six Years in the Malay Jungle โดย Carveth Wells. New York : New York City Publishing Co. Inc. ปี 1924 หนังสือจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ประจำเครือจักรภพอังกฤษประจำภาคพื้นคาบสมุทรมลายู ซึ่งมีรายละเอียดของพื้นที่ในทุกมิติ ตั้งแต่สภาพภูมิประเทศ อากาศ ทรัพยากร ตลอดจนชาติพันธุ์
- Marlborough: His Life and Times Vol.1 โดย Churchill Winstons. London : George G.Harrap & Co. Ltd. ปี 1933. (612 หน้า) หนังสือชีวประวัติเพื่อสดุดีผลงาน และคุณงามความดี ของ จอห์น เชอชิลล์ ดยุคแห่งมาลโบโรห์ คนแรก ซึ่งเป็นแม่ทัพคนสำคัญที่มีบทบาทในราชสำนักอังกฤษช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 – 18 ผุ้แต่งหนังสือชุดนี้คือ ทายาทแห่งตระกูลเชอชิลล์ เซอร์วินสตัน เชอชิลล์ อดีตนายกรัฐมนตรีของ และ1 ใน 100 ชาวบริทันผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล
- Malay Sketches โดย Sir SWETTENAAM, Frank Athelstane ปี 1895. (304 หน้า) เรื่องราวของประเทศมาเลเซียในแง่มุมของต่างๆ ผ่านมุมมองของ ผู้เขียน เซอร์แฟรงค์ สเวตเทนแนม เมื่อครั้งเป็นผู้ดูแลอาณานิคม คนแรกของมาเลเซียในฐานะอาณานิคมของสหราชอาณาจักร เมื่อปี 1896-1901 ท่านมีความสามารถทางด้านภาษามาเลย์เป็นอย่างสูง และมีบทบาทสำคัญในการจัดการอาณานิคมของอังกฤษบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านต่างๆ Malay Sketches เป็น 1 ใน 4 เล่มของชุดที่ท่านเขียน ซึ่งจัดเป็นหนังสือแนวสารคดีที่หายากอีกชุดหนึ่ง ในชุดประกอบด้วย 1. Malay Sketches 2. Unaddressed Letters 3. Also & Perhaps 4. Arabella in Africa แผ่นรองปกมีข้อความเขียนว่า "C.B.Hnitihell given to me on the May 14th 1896 Chulalongkorn" ปกด้านในมีการประทับตรา (พระราชลัญจกรของรัชกาลที่ 5)
- Noguchi โดย Gustav Eckstein. New York and London : Harper & Brothers Publishers ปี 1931 (419 หน้า) นวนิยาย/วรรณกรรมที่มาจากชีวประวัติของฮิเดะโย โนงุจิ นักแบคทีเรีย วิทยา ผู้ทุ่มเทค้นคว้าเกี่ยวกับแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้อซิฟิลิส จนวาระสุดท้ายของชีวิต ก่อนจะเสียชีวิตด้วยโรคไข้เหลืองที่ประเทศกานา ด้วยความเสียสละดังกล่าวจึงได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาแพทยศาสตร์และฟิสิกส์หลายครั้ง และรัฐบาลญี่ปุ่นได้นำภาพของเขาพิมพ์ธนบัตรราคา 1,000 เยน ตั้งแต่ปี 2547 – ปัจจุบัน
หนังสือวรรณกรรม หนังสือเด็ก
- Voodoo โดย John Esteven เรื่องราวของ ชายใจแคบ หัวรุนแรง ที่มีแต่ผู้คนเกลียดชังและหวาดกลัว ต้องกลายเป็นอัมพาต และเสียชีวิตในเวลาต่อมา เนื่องจากการได้รับพิษที่ไม่ทราบชนิด ภรรยาและลูกๆของเขาจึงเป็นตกเป็นผู้ต้องสงสัยในการฆาตรกรรมนี้ นวนิยาย สืบสวนสอบสวนเล่มนี้เริ่มต้นด้วยการแนะนำผู้อ่านให้รู้จักกับ “ประตูแห่งความตาย” และความหมายของ “วูดู”
- The Return of Tarzan โดย Butler & Tanner วรรณกรรมภาคต่อของทาร์ซาน เล่าเรื่องการผจญภัยของทาร์ซานหลังจากการแต่งงานกับเจน หญิงสาวชาวอเมริกัน และค่อยๆกลับไปใช้ชีวิตอย่างคนปกติ จากที่เติบโต ได้รับการเลี้ยงดู และใช้ชีวิตในป่าแอฟริกา ทาร์ซานต้องปรับตัวกับสังคมมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความซับซ้อน และต้องใช้ความสามารถฝึกฝนสำหรับการปกป้องสมบัติล้ำค่าระหว่างการผจญภัยครั้งสำคัญนี้สันปกด้านในด้านล่างมีอักษรพิมพ์ว่า วังศุโขทัย ปกด้านในมีตราพระปรมาภิไธยย่อ ปปร. และมีตราประชาธิปก
- Seeta โดย Taylor,Meadows. , 1887.(6th edition). London : Kegan Paul, Treneh & Co. วรรณกรรมที่เขียนขึ้นในยุควิคตอเรียน (ศตวรรษที่ 19) โดย ฟิลลิป มีโดวส์ เทย์เลอร์ ชาวอังกฤษที่ใช้ชีวิตในประเทศอินเดียตั้งแต่อายุ 15 เนื้อหาของวรรรณสะท้อนสังคมยุคนั้นได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องการศึกษาของตัวละครเอกที่เป็นสตรี ที่มีความคิดทางเสรีนิยม ท่ามกลางสถานการณ์ยุคอาณานิคม
หนังสือซึ่งส่วนพระองค์ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความใฝ่หาความรู้ของพระองค์เป็นอย่างดี ซึ่งประกอบด้วยศาสตร์ต่างๆ ที่ครบถ้วนตามหมวดความรู้ในโลก ได้แก่ ปรัชญา ศาสนา ปรัชญา ภาษา กฎหมาย การเมืองการปกครอง การทหาร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี แพทย์ศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ศิลปะ กีฬา วรรณคดี สังคมศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ นวนิยาย ภาษาที่ใช้ในหนังสือมีทั้งภาษาไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และอิตาลี
ชมนิทรรศการ “แรงบันดาลใจจากหนังสือทรงอ่านแบบเสมือนจริง คลิก
บรรณานุกรม
15 ก.ค. 2564